06:50

ไหว้พระที่วัดถ้ำพวง

ไหว้พระที่วัดถ้ำพวง









วัดถ้ำพวง



ช่วง นี้เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกพอดูในแถบอีสาน แต่เพราะว่าใกล้วันเกิดอีกรอบในปีนี้ อยากไปไหว้พระตามวัด ตามวา แทนการทำกิจกรรมอย่างที่เคยทำมาในปีก่อนๆ เลยชวนกันไปที่จังหวัดสกลนคร เมืองที่ขึ้นชื่อว่ามีเกจิอาจารย์ มากมาย แต่ก่อนที่จะถึงตัวเมืองสกลนคร เราก็แวะไหว้พระตามที่ต่างๆไปเรื่อย โดยที่แรกเราจะพาท่านไปที่วัดถ้ำผาพวง อำเภอส่องดาว ซึ่งอยู่บนเทือกเขาภูพาน...

วันนั้นเราขับไปจากเส้นทาง สายมิตรภาพ หมายเลข 2 โดยเลี้ยวขวาที่ อ.กุมภวาปี เพื่อไปทางลัดไปหนองหาน ตามเส้นทาง หมายเลข 2339 ระหว่างทางเราแวะไหว้พระที่วัดปรางค์กู่แก้ว ที่ อ. กู่แก้ว ก่อนที่จะเดินทางต่อ

ตอนแรกนี้ขอนำท่านไปไหว้พระที่วัดถ้ำพวง หรือ วัดถ้ำอภัยดำรงธรรมก่อนครับ...









ประวัติการก่อตั้งวัดถ้ำพวงโดยสังเขป

เดิมที ราว พ.ศ. 2504 พระอาจารย์วัน อุตฺตโม ได้เริ่มก่อตั้งวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมและจำพรรษาอยู่ ณ วัดแห่งนี้ จนมีพระภิกษุสามเณรเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

ในปี พ.ศ. 2514 ท่านพระอาจารย์วัน อุตฺตโม ได้นำคณะศิษยานุศิษย์ร่วมกันสร้างถนนขึ้นสู่ยอดเขาภูผาเหล็กซึ่งมีถ้ำอีก แห่งหนึ่งมีชื่อว่า "ถ้ำพวง" ด้วยความสามัคคีพร้อมเพรียงแห่งแรงศรัทธา ได้ร่วมกันสร้างถนนจนเสร็จเรียบร้อยเป็นระยะทางรวมทั้งสิ้น 5 กิโลเมตร พร้อมทั้งได้สร้างวัดขึ้นด้วยคือ "วัดถ้ำพวง" บนยอดเขาภูผาเหล็ก (เป็นส่วนหนึ่งของวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม) แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปมักชอบเรียกว่า "วัดถ้ำพวง" จากนั้นได้สร้างอาคารเสนาสนะ และได้สร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกหน้าตักกว้าง 5 เมตร ไว้ ณ ถ้ำพวง นามว่า "พระมงคลมุจลินท์" พร้อมทั้งได้สร้างวิหารครอบองค์พระพุทธรูปเป็นที่เรียบร้อยในเวลาต่อมาเมื่อ ท่านพระอาจารย์วัน อุตฺตโม ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2523 ด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่ตำบลคลองหลวง อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธ) ได้แต่งตั้ง พระอธิการหลอ นาถกโร เป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม สืบแทนตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2523 เป็นต้นมาจนได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น "พระครูอุดมญาณโสภณ" จนถึงปัจจุบัน ท่านได้ทำนุบำรุงและพัฒนาวัดถ้ำพวงจนเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป

สถานที่ตั้ง : วัดถ้ำพวง ภูผาเหล็ก บ้านท่าวัด ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร






ทางเข้าถ้ำ









ภาพมุมกว้างภายในวิหาร















ถ้ำเดิม









รูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ต่างๆ และพระพุทธรูป










ภาพวาดในวิหาร










วิหารที่สร้างครอบถ้ำไว้







ออกจากวิหารถ้ำพวง เราขับวนขวาตามทางที่บอกว่าไป "สังเวชนียสถาน 4 ตำบล และพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารพระอาจารย์ วัน อุตตโม






พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารพระอาจารย์วัน อุตตโม



ประวัติ

พระ อาจารย์วัน ชาติกาลเมื่อวัน อาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม 2465 ตรงกับแรม 6 ค่ำ เดือน 9 ปีจอ ที่บ้านตาลโกน ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อแหลม สีลา รักษ์ มารดาชื่อ จันทร์ มาริชิน มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา 2 คน คือ พระอาจารย์วัน และนายผัน ลีลา รักษ์

เมื่ออายุยัง น้อย พระอาจารย์วันเป็นบุคคล ที่ชอบสนุกร่าเริง แต่ในความสนุกร่าเริง ดังกล่าวก็มิได้ทำความเสียหายทั้งใน เรื่องของความประพฤติ การศึกษาและความรับผิดชอบ ในการงานที่ได้รับมอบหมายจากบิดามารดา ทั้งในเรื่องบวชเรียนก็ไม่ได้คิดคำนึงมา แต่น้อย แม้บิดาได้เคยสั่งไว้ว่าให้บวช ให้ท่านบ้าง จะอยู่ในศาสนาน้อยมากก็ตามแต่ศรัทธา

ภายหลังจึงได้ตัดสินใจบวชตาม คำสั่งของบิดายังความตื้นตันใจแก่ญาติด มิตรเป็นล้นพ้น แต่ในขั้นแรกได้ไปรับ ใช้เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์วัง ฎิติสาโร วัด ป่าม่วงไข่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ต่อมาเมื่อ ท่านเจ้าคุณพระราชกวี (พระธรรมเจดีย์ จู ม พนธุโล) เดินทางกลับมาจากงาน ผูกพัทธสีมา ที่วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี จะแวะพักที่วัดศรีบุญเรือง บ้านงิ้ว ตำบล พันนา อำเภอสว่างแดนดิน พระอาจารย์วังจึงได้ นำไปบวชเป็นสามเณร ณ ที่วัดนั้น เมื่อวัน ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 เมื่ออายุ 15 ปี โดยมีพระราชกวีเป็นพระอุปัชฌาย์ครั้นบวช แล้วได้กลับมาอยู่ที่วัดอรัญญญิกาวาส บ้านม่วงไข่ และจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้น 2 พรรษา








พิพิธภัณฑ์ทำเป็นรูปเจดีย์







พ.ศ. 2481 - 2482 เจ้าคุณ พระราชกวี พาไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้าน สามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

พ. ศ. 2483 พระอาจารย์วัน ได้กราบลา ท่านเจ้าคุณไปจำพรรษาที่วัดสุทธาวาสอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีพระมหาแสง ปุสโส (พระจริย คุณาจาร) เป็นเจ้าอาวาสได้เริ่มเรียนนักธรรม ชั้นตรีแต่ปีนั้นจนกระทั่งสอบได้
ต่อมาวันที่ 29 มกราคม 2485 ได้อุปสมบทเป็นพระที่ วัดสว่างโสก อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครู จินนวิโสธนาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาคล้าย เป็นพระธรรมวาจาจารย์ แล้วจึงเดินทางกลับมา จำพรรษาที่วัดสุทธาวาสจังหวัดสกลนครเพื่อศึกษาชั้นนัก ธรรมเอก ภายหลังจึงได้เดินทางไปสอบนัก ธรรมเอกที่จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. 2480 กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าคามวาสี บ้านตาลโกน ระหว่างนั้นได้เป็นครูสอนนักธรรมที่สำนักเรียน วัดสุทธาวาส และวัดชัยมงคล แต่เป็นไม่ได้ด้วย เพราะสุขภาพ

พ.ศ. 2480 กลับมา จำพรรษาที่วัดป่าคามวาสี บ้านตาลโกน ระหว่างนั้น ได้เป็นครูสอนนักธรรมที่สำนักเรียนวัดสุทธาวาส และวัดชัยมงคล แต่เป็นไม่ได้ด้วยเพราะสุข ภาพ

พ.ศ. 2488 ได้ไปจำพรรษา อยู่ที่วัดป่าบ้านหนองฝือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม ซึ่งที่นั้นได้พบกับท่านอาจารย์ มั่น ภูริทัตตเถระ ซึ่งมาจำพรรษาอยู่จึงได้ ศึกษาอบรมยอมปฏิบัติจากท่านพระอาจารย์มั่น เป็น เวลาถึง 5 ปี จนหระทั่งถึงปี พ. ศ. 2492

ระหว่าง พ.ศ. 2493 - 2500 พระอาจารย์วันได้จำพรรษาในถิ่นที่ต่าง ๆ เกือบทุกจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พ.ศ. 2501 ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดพุฒา ราม บ้านคำตานา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดน ดิน จนถึง พ.ศ.2503

พ. ศ. 2503 ได้มาพักที่วัดโชติการาม บ้าน ปทุมวาปี อำเภอส่องดาว ตามคกร้องนิมนต์ของญาติโยม ซึ่งได้สร้างเป็นที่พักชั่วคราว ภายหลังได้ มีการสร้างกุฏิถาวรขึ้น ตามศรัทธาของญาติโยม ปัจจุบันคือวัดอภัยดำรงธรรม ทั้งภายหลังได้สร้าง พระพุทธรูปที่ถ้ำพวงโดยมีจุดประสงค์ให้ ชาวบ้านหันมากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปแทน การเซ่นสรวงผีสสางในภูเขาซึ่งเป็นสถาน ที่พระอาจารย์วัน ได้จำพรรษาเป็นระยะเวลานาน ได้พัฒนาสถานที่รวมทั้งความประพฤติปฏิบัติของราษฎร ชาวบ้านในแถบนั้นอย่างกว้างขวาง








อีกมุม







จน เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2523 ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยเหตุ เครื่องบินตกขณะที่ท่านได้รับอาราธนาเข้ากรุงเทพ พร้อมด้วยพระอาจารย์อีก 4 รูป และเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จ พระนางเจ้า ๆ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระ ราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา ภรณ์วลัยลักษณ์มาพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุ วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร


ที่มา : จังหวัดสกลนคร








อีกมุม










รูปเหมือนพระอาจารย์วัน








หุ่นขี้ผึ้งพระอาจารย์










เครื่องอัฐบริขารพระอาจารย์










ต้นสาระลังกา










ดอกขึ้นตามลำต้น











ก่อนจาก (ถ่ายย้อนแสง)






ออก จาพิพิธภัณฑ์ เราขับต่อไปเรื่อยๆ เรียบหน้าผา ซึ่งจะมีสังเวชนียสถานตั้งเรียงรายกันอยู่ ถนนคอนกรีตดีมาก แถมตามที่จอดรถยังมีห้องน้ำให้บริการอีกด้วย หลายที่อย่างเลยพระเจดีย์สิริมหามายา และ วิหารปรินิพาน ก็จะมีจุดชมวิว ทำที่นั่งพักให้อย่างดี...




สังเวชนียสถาน 4 ตำบล





พระเจดีย์สิริมหามายา







ประมาณปี 2541 เป็น ต้นมา ทางวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม-ถ้ำพวง และคณะกรรมการ ญาติโยม ลูกหลานทั้งที่อยู่ใกล้ไกลได้รวมกำลังสมัครสมานสามัคคีร่วมแรงร่วมใจลงมือ ก่อสร้างสังเวชนียสาถน คือ สถานที่ประสูติซึ่งได้ออกแบบเป็นเจดีย์สถูปทรงกลม มีพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2541 โดยคุณไพศาล ปันทวังกูร และได้ทำการก่อสร้างมาเรื่อย ๆ โดยโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ความกว้างของฐานเส้นผ่าศูนย์กลาง 13 เมตร ความกว้างของตัวเจดีย์เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เมตร ความสูง 17 เมตร ภายในเป็นห้องโถงใหญ่มีรูปหล่อพระนางสิริมหามายาเทวีประดิษฐาน ปางยืนประสูติพระโพธิสัตว์ราชโอรส หล่อด้วยทองเหลืองเท่าองค์จริง พระหัตถ์ขาวเหนี่ยวกิ่งสาระ มีความเด่นสง่าพิสดารสวยงามมาก ผนังทางด้านหลังรูปหล่อเขียนเป็นภาพวิวทิวทัศน์ภูเขาด้วยสีน้ำมองดูแล้วสวย งามมาก บนฝ้าเพดานจะปั้นเป็นรูปพระธรรมจักรขนาดใหญ่มีลายไทยล้อมรอบทาด้วยสีทอง เหลืออร่าม ส่วนบนยอดเจดีย์บรรลุพระบรมสารีริกธาตุหลายพันองค์

โดยมี พระสุธรรมคณาจารย์(หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) วัดอรัญญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย เป็นประธานเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2542 ทางด้านหน้าของเจดีย์มีเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราชจำลองเท่าของจริงมีความเด่น เป็นสง่ามีตัวหนังสือจารึกบ่งบอกว่าสถานที่นี้คือสถานที่ประสูติพระ โพธิสัตว์ราชกุมารบริเวณรอบเจดีย์ปลูกไม้สาระเป็นเครื่องหมายบ่งบอกว่า ตอนที่พระนางประสูติอยู่ที่สวนลุมพินีวันนั้นก็คือป่าไม้สาระในระหว่างกึ่ง กลางของ เมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะนครด้วยเหตุดังนั้น ไม้สาระจึงเป็นส่วนประกอบอย่างสำคัญซึ่งจะขาดเสียไม่ได้ตั้งแต่สมัยครั้ง พุทธกาลตลอดถึงยุคปัจจุบัน ก็คงถือว่าไม้สาระเป็นไม้มงคล เป็นไม้ที่มีความหมายสำหรับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราแต่ไม้สาระ อินเดียและไม้สาระเนปาลมีความหมายแตกต่างกันพระเจดีย์สิริมหามายาใช้เวลาใน การก่อสร้างประมาณ 1 ปีเศษ








พระเจดีศรีมหาโพธิ์







พระเจดีย์ศรีมหาโพธิ์จำลอง

เมื่อ พระเจดีย์สิริมหามายาเสร็จสิ้นไปแล้วก็ได้ลงมือก่อสร้างเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ จำลองต่อไป เริ่มต้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2542 เป็นต้นมาโดยลงมือเทพื้นฐานรากของตัวเจดีย์ เมื่อเสร็จแล้วได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์วันที่ 27 เมษายน 2542 โดยมีพระเดชพระคุณ พระเทพวราภรณ์ วัดโสมัสวิหาร กรุงเทพฯ และพระเดชพระคุณ พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) วัดอรัญญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย เป็นประธานสงฆ์

จากนั้นก็ลงมือก่อสร้างมาเรื่อย ๆ โดยย่อส่วนจากของจริงที่ประเทศอินเดียลงครึ่งหนึ่ง คือกว้าง 12 เมตรจตุรัส สูง 29 เมตร โดยโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นล่างเป็นห้องโถงใหญ่มีพระประธาน 5 องค์ เรียงลำดับตั้งแต่ปางเสวยวิมุติสุขจากการตรัสรู้ไปถึงปางนาคปรก ด้านหลังพระประธานจะเขียนด้วยสีน้ำมันเป็นรูปพระศรีมหาโพธิ์และประกอบด้วย วิวทิวทัศน์ป่าไม้ภูเขาเขียวชะอุ่มเย็นตา ทัศนียภาพที่กว้างไกลออกไปจะเห็นภูเขาหิมาลัยขาวโพลนไปด้วยหิมะด้านหน้าศรี มหาโพธิ์จะมีลักษณะเป็นลำน้ำ คงหมายถึงแม่น้ำเนรัญชรา ดูตามรูปพุทธประวัติแล้ว พระองค์คงอธิษฐานลอยถาดแล้วจึงได้ไปนั่งตั้งสัจจาธิษฐาน ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ก่อนจะตัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ชั้นบนมีพระประธานองค์ใหญ่ปางยืนสูงประมาณ 3 เมตร รอบนอกจะมีระเบียงและมีเจดีย์องค์เล็กอยู่ตามมุมทั้ง 4 ภายในเจดีย์เล็กจะมีพระพุทธรูปปางยืนทุกองค์ เว้นบันไดทางขึ้น













ด้าน นอกของเจดีย์จะมีพระพุทธรูปองค์เล็กองค์ใหญ่เรียงรายอยู่ตามผนัง จนถึงโคนยอดประมาณ 200 กว่าองค์ตามแบบของจริงที่อินเดีย นอกจากนั้นฐานล่างรอบนอกจะเต็มไปด้วยลวดลายต่าง ๆ ทั้งลายไทยและลายแขกผสมผสานกันไป ทั้งนี้ล้วนแต่ทำตามแบบของจริงทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ ส่วนใต้ฐานยอดเจดีย์ทำเป็นห้องโถง 4X4 เมตร พื้นปูด้วยหินแกรนิต ฝ้าผนังบุด้วยกระเบื้องคอตโต้ เป็นห้องบรรจุประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พื้นชั้นล่างปูด้วยไม้มะค่าโมงแผ่นใหญ่เคลือบด้วยยูรีเทน บี 52 ตลอดถึงประตูใหญ่อีกด้วย ซึ่งหาดูที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว









ภายในพระเจดีย์ศรีมหาโพธิ์







บริเวณ รอบนอกพระเจดีย์เทคอนกรีตเสริมเหล็ก ด้านหน้าและด้านหลังปลูกต้นศรีมหาโพธิ์สายพันธุ์จากประเทศอินเดีย ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณขององค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รอบพระเจดีย์ทั้งสามด้านมีรั้วเหมือนกับที่อินเดีย เว้นด้านทิศตะวันออกซึ่งติดกับเขา เสาเอกทางเข้าประตูใหญ่ได้มาตรฐาน บนเยอดเสาเป็นลวดลายกาบบัวงามวิจิตรพิศดารเป็นเอกลักษณ์ของอินเดียทุกประการ ใช้เวลาในการก่อสร้าง 2ปีเศษ








ศาลานี้อยู่ทางตะวันออก มีรูปเหมือนพระอาจารย์ท่านหนึ่งอยู่ด้านใน











พระเจดีย์แสดงปฐมเทศนา








ธัมเมกขสถูป (ที่แสดงปฐมเทศนา) จำลอง

ได้ ทำพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2544 โดยมีพระเดชพระคุณ พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) วัดอรัญญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย เป็นประธานสงฆ์ จากนั้นได้ทำการก่อสร้างมาเรื่อย ๆ

ความ กว้างของฐาน 23 เมตร ความกว้างของตัวสถูปเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เมตร สูง 15 เมตร เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายในตัวสถูปเป็นห้องโถงใหญ่ มีพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ทัง 5 หน้าตักกว้าง 60 นิ้ว หล่อด้วยทองเหลือง รอบผนังจะเป็นซุ้มประกอบลวดลายสวยงามประดิษฐานด้วยพระอสีติมหาสาวก 14 องค์หล่อด้วยทองเหลืองเท่าองค์จริง บนฝ้าเพดาน ปั้นเป็นรูปธรรมจักรขนาดใหญ่ประกอบไปด้วยลวดลายไทย ทาด้วยสีทองเหลืองอร่ามเป็นที่งดงามยิ่งนัก













บริเวณ รอบนอกถัดจากระเบียงลูกกรงออกไปราว 6 เมตรจะเป็นรูปปั้นธรรมจักรขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.50 เมตร และกวางใหญ่คู่หนึ่งพร้อมด้วยหัวเสาของพระเจ้าอโศก คือหัวสิงห์ 4 หัวแกะสลักจากหินทรายภูเขาเหล่านี้ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ส่วนประกอบในบริเวณ ธัมเมกขสถูป ถ้าดูตามตำนานแล้วป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้นแปลว่า เป็นที่ให้ชีวิตหรือให้อาหารแห่งกวาง
แม้แต่ในอดีตที่ผ่านมา สมัยที่พระองค์เป็นโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นหัวหน้าแห่งฝูงกวางทั้งหลายและ ยังได้อาศัยบริเวณพื้นที่แห่งนี้ และที่สำคญอีกประการหนึ่งก็คือเป็นสถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเป็นครั้ง แรกในโลก อันมีผลก่อให้เกิดพระสงฆ์เป็นองค์แรกในโลกเช่นเดียวกัน และพระพุทธองค์ทรงจำพรรษา ณ ที่แห่งนี้เป็นพรรษาแรกเช่นเดียวกันหลังจากแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ต่อมาก็กลายเป็นพระอารามใหญ่โตรโหฐาน จะเห็นจากตำนานและซากปรักหักพังจากอิฐทั้งหลายที่ระเกะระกะอยู่ทั่วบริเวณ ปัจจุบันทางรัฐบาลอินเดียยังรักษาสภาพพื้นที่เอาไว้เพื่อเป็นสิ่งแจ้ง ประจักษ์ว่าสถานที่ยังพอมีร่องรอยให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน และเป็นการรำลึกถึงพระพุทธองค์และพระอริยสงฆ์ในยุคนั้น พระเจดีย์ธัมเมกขสถูปใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 1 ปีเศษ









ภายใน










ธรรมจักรนี้อยู่ด้านหน้า











พระวิหารปรินิพาน






ก่อ สร้างตามแบบเดิมทุกประการเพียงแต่ย่อส่วนให้เล็กลงตามความเหมาะสมเท่านั้น ส่วนพระพุทธรูปปางปรินิพพานคงไว้ขนาดเดิม คือยาวประมาณ 7 เมตร ส่วนตัวพระวิหารและองค์เจดีย์ด้านหลังนั้นย่อส่วนเข้าให้กะทัดรัด คือกว้าง 18 เมตร ยาว 24 เมตร ความสูงขององค์พระเจดีย์ 13 เมตร พื้นล่างยกสูง 3 เมตร เท่าของจริงที่อินเดีย แต่ของเขาปิดเอาไว้ ส่วนของเราเป็นฐานโล่งสามารถอำนวยประโยชน์ในการใช้สอยได้ตามอเนกประสงค์ ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์โดยมี
พระเดชพระคุณ พระเทพญาณวิศิษฐ์ เจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กรุงเทพฯ เป็นประธานสงฆ์เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2545 มีคุณเสริม เหวียนระวี พร้อมครอบครัวเป็นเจ้าภาพในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ใช้เวลาในการก่อสร้าง 2 ปี

ขอบคุณข้อมูลสังเวชนียสถาน 4 ตำบล จาก : http://www.mtts34.com
























ถ่ายมาให้ชมกันหลายๆมุม







พอ ออกจากพระวิหารปรินิพาน เราก็ขับต่อเพื่อขึ้นเขาสูงไปอีก เป้าหมายคือหอส่องดาว ที่อยู่ติดกับภผาดงก่อ และสถานีถ่ายทอกคลื่นสัณญาณของกองัพอากาศ ทางช่วงนี้ประมาณ 1 กม. ยังเป็นทางลูกรังอยู่ กำลังก่อสร้าง (เห็นร่องรอยเป็นแบบนั้น ถ้าเป็นรถเก๋งช่วงล่างต่ำ แนะนำให้กลับทางเดิมที่มา แล้วขับขึ้นตามทางคอนกรีตด้านนั้นจะดีกว่า แต่อาศัยเราใช้รถ CRV ช่วงล่างสูงหน่อยเลยไปได้








หอส่องดาว






หอ ส่องดาวอยู่ติดหน้าผาดงก่อ เป็นอาคารคอนกรีตขนาด 2 ชั้น ไม่สูงมาก แต่ตรงที่สร้างนั้น น่าจะเป็นยอดเขาลูกนี้แล้ว .... มองเข้าไปในสถานีถ่ายทอดของกองทัพอากาศ เห็นเขียนว่า "คนไกลบ้น" น่ารักจัง..

















วิวจากหน้าผา










บนสุดหอส่องดาว







เราวนลงทางด้านนี้ซึ่งเป็นถนนคอนกรีตดีมาก ไปพบกับเส้นทางที่เราขึ้นมาจากด้านล่าง และขับลงไปเพื่อเดินทางไปต่อ ที่วัดถ้ำขาม.




การเดินทาง (จากสกลนคร)

ใช้ เส้นทางสาย สกลนคร -อุดรธานี เส้นทางหลวงหมายเลข 22 ระยะทางประมาณ 84 กิโลเมตร ก็จะถึงอำเภอสว่างแดนดิน เลี้ยวซ้ายผ่านอำเภอส่องดาวไปถึงวงเวียนอนุสาวรีย์พระเวสสันดรระยะทางอีก ประมาณ 27 กิโลเมตร จากอนุสาวรีย์หากแยกขวาจะไปวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ตรงไปประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึงพิพิธภัณฑ์ พระอุดม สังวรวิสุทธิ สร้างเป็นรูปทรงจตุรมุข 2 ชั้น ประดับด้วยหินอ่อนทั้งหลัง ชั้นล่าง ตกแต่งเป็นห้องแสดงภาพวาดเกี่ยวกับประวัติของพระอาจารย์ตั้งแต่เกิด ส่วน ชั้นบน มีรูปปั้นของท่านในท่านั่งขัดสมาธิ พร้อมเครื่องสักการะบูชาที่ตกแต่งสวยงาม และตู้กระจกแสดงเครื่องอัฐบริขารของท่าน บริเวณใกล้เคียงกันมีถ้ำพวงซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระมงคลมุจลินท์องค์ใหญ่ และยังมีสังเวชนียสถาน 4 ตำบลขนาดใหญ่อยู่ด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น